การเต้นแอโรบิค

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาของแอโรบิกแดนซ์
คำว่า “aerobics” มาจากรากศัพท์กรีกโบราณแปลว่า“อากาศกับชีวิต” (air – life) ซึ่งมีนัยว่าต้องมีออกซิเจน (Oxyen) เกี่ยวข้องด้วย หมายถึง ความต้องการอากาศ (ออกซิเจน) ของสิงมีชีวิตในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้

ในปี ค.ศ. 1965 โดยนายแพทย์เคนเน็ธ คูเปอร์ ชาวอเมริกัน ได้ให้ความหมายของแอโรบิกส์เอ็กเซอร์ไซส์ (Aerobics Exeercise) ว่า “เป็นการส่งเสริมการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและใช้ออกซิเจนนั้น” และยังได้คิดค้นวิธีออกกำลังกายโดยเขียนเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ต้องอาศัยอากาศ (Aerobics exercise) ขึ้นในปี ค.ศ. 1968 ปรากฎว่าหนังสือได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมจากกลุ่มคนทั่วไป เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปฝึกปฎิบัติ และหลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ได้มีการประยุกต์ให้เป็นการออกกำลังกายที่เรียกว่า “แจ๊สเซอร์” โดยครูฝึกเต้นรำจังหวะแจ๊สชื่อ จูดี้ เชพพาร์ด มิสเชตต์ได้นำเอาการฝึกการออกกำลังกายแบบ แอโรบิกเอ็กเซอร์ไซสส์ มาผสมผสานกับการเต้นรำแจ๊ส ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวอเมริกันในขณะนั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 แจ๊กกี้ โซเรนเซ่น ก็ได้คิดค้นและพัฒนษการบริหารร่างกายโดยอาศัยหลักพื้นฐานของแอโรบิกมาประยุกต์ให้เข้ากับจังหวะดนตรี รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวซึ่งต้องอาศัยหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาประกอบด้วย จึงทำให้การออกกำลังกายในลักษณะดังกว่าเกิดความสนุกสนานและก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อร่างกาย
การออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหว หรือการเต้นไปตามจังหวะเพลง จึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันในชื่อที่เรียกโดยทั่วไปว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobics Dance) และยังได้มีการผลิตเป็นสื่อวีดีโอเทป เทปเพลง รวมทั้งชุดที่สวมใส่ในการเต้นแอโรบิกขึ้นมาเพื่อจำหน่าย นี่เป็นดัชนีที่ช่วยบอกถึงความนิยมในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกแดนซ์ได้เป็นอย่างดี จากอเมริกาสู่ทวีปยุโรปและแพร่กระจายเข้ามาในทวีปเอเชีย นอกจากนี้เมื่อปี ค.ศ. 1984 ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 23 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำการเต้นแอโรบิกเข้ามาบรรจุเป็นหนึ่งในการแสดงในพิธีเปิดเพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันก็ได้บรรจุเขาเป็นหนึ่งในประเภทกีฬาเพื่อการแข่งขันชิงเหรียญทองทั้ง โอลิมปิก, เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์ เรียกว่า Sports Aerobics จัดอยู่ในกลุ่มประเภทกีฬายิมนัสติก

ส่วนในประเทศไทย ได้มีการนำเอาการบริหารกายประกอบดนตรีและยิมนาสติกมาประยุกต์เข้าด้วยกัน เรียกว่า “Slimnsstics” โดย อาจารย์สุกัญญา มุสิกวัน พร้อมได้เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ทราบในปี พ.ศ.2519 และต่อมาในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นและได้รับความรู้ด้าน Aerobics Dance และ Aerobics Exercise การออกกำลังกายดังกล่าวก็ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย และหน่าวยงานทั้งภาครัฐ ทั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข, ททท. ตลอดจนภาคเอกชนอีกหลายหน่วยงานได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นหนึ่งในกิจกรรม กีฬามวลชนเพื่อสุขภาพ จนได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่งประเทศไทย มาจนถึงปัจจุบัน

http://www.thaiaerobics.com

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ผู้นำเต้นแอโรบิคควรรู้

ประวัติความเป็นมาของการเต้นแอโรบิค
แอโรบิคดานซ์ในประเทศไทย
แอโรบิค คืออะไร
ทำไมต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิคดานซ์
หลักสำคัญในการเต้นแอโรบิค
ชีพจรเป้าหมายขณะฝึกแอโรบิคดานซ์
อัตราชีพจรเป้าหมายของตนเอง
ขั้นตอนของแอโรบิคดานซ์ รูปแบบของการเต้นแอโรบิค
ประเภทของการเคลื่อนไหวแบบแอโรบิค
การเลือกเพลงหรือดนตรีที่ใช้ในการเต้นแอโรบิค
ข้อควรระวังเบื้องต้นในการเต้นแอโรบิค
ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้เต้นแอโรบิค
การบาดเจ็บที่มักเกิดจากการเต้นแอโรบิค
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการเต้นแอโรบิค
อาการของการบาดเจ็บจากการเต้นแอโรบิค
การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บ
การเคลื่อนไหวในการเต้นแอโรบิค
การเคลื่อนไหวที่อยู่กับที่และเทคนิคการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องสำหรับการเต้นแอโรบิค
การเคลื่อนไหวที่ต้องเคลื่อนที่และเทคนิคการเคลื่อนไหวในการเต้นแอโรบิคที่ถูกต้อง
การเคลื่อนไหวต่างๆที่นิยมใช้ในการเต้นแอโรบิค
ท่าการเคลื่อนไหวในกลุ่มที่มีแรงกระแทกต่ำ
ท่าการเคลื่อนไหวในกลุ่มที่มีแรงกระแทกสูง
ประเภทผสมผสานระหว่างแรงกระแทกสูงและแรงกระแทกต่ำ
คุณสมบัติการเป็นผู้นำการออกกำลังกายแบบแอโรบิคดานซ์
ตัวอย่างการให้สัญญลักษณ์ในการเต้นแอโรบิค
การสร้างการเคลื่อนไหวเพื่อประกอบเป็นท่าแอโรบิค
แนวความคิดสร้างสรรค์ในการประกอบท่าแอโรบิค
ทิศทางของการเคลื่อนไหว ข้อควรคำนึงในการเต้นแอโรบิค
การตรวจร่างกายโดยแพทย์ก่อนการเข้าร่วมเต้นแอโรบิค
การตั้งจุดมุ่งหมายในการเต้นแอโรบิค
การคาดหวังการบรรลุจุดมุ่งหมาย
การกำหนดเวลาการเต้นแอโรบิค
การตรวจอุปกรณ์แต่งกายก่อนเต้นแอโรบิค
การอบอุ่นร่างกายก่อนการเต้นแอโรบิค
การอบอุ่นระบบการเต้นของหัวใจ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การกำหนดเป้าหมายของอัตราการเต้นของหัวใจขณะฝึกเต้นแอโรบิค
การบริหารกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกายหลังจากการเต้นแอโรบิค การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หลังจากเต้นแอโรบิค
จำนวนครั้งการฝึกเต้นแอโรบิคใน 1 สัปดาห์
ที่มา::หนังสือคู่มือสำหรับครูฝึกแอโรบิคดานซ์ (Aerobic Dance)::ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุกัญญา พานิชเจริญนาม
ที่มา : http://www.blogger.com

เต้นแอโรบิคแล้วเจ็บต้องระวัง

สาเหตุของการบาดเจ็บ

การเต้นแอโรบิคอาจทำให้บาดเจ็บได้ 2 ประเภท คือ

1. บาดเจ็บจากการใช้ร่างกาย (เต้น) มาก
หมายถึงร่างกายหรืออวัยวะส่วนนั้นได้รับแรงดึงกระแทกอย่างซ้ำๆ กันอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับบาดเจ็บคือ เลนระดับปกติไป
ที่พบมากกว่าบาดเจ็บประเภทนี้ ได้แก่ เอ็นสะบ้าอักเสบ ปวดรอบสะบ้า เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กล้ามเนื้อน่องอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เป็นต้น

2. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือเสียหลักขณะเต้น
หมายถึงเหตุการณ์ขณะเต้นแอโรบิคที่ทำให้เกิดแรงดึงหรือแรงกระทบมากกว่าระดับปกติ อย่างกะทันหันต่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่พบมากได้แก่ ข้อเท้าแพลง เอวยอก หลังยอก ปวดขัดหัวเข่า ปวดขัดบริเวณขาหนีบ เป็นต้น

ส่วนใหญ่แล้วพบว่า การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากเต้นแอโรบิคเป็นประเภทแรกมากที่สุดครับ คือ ราวร้อยละ 70-80 มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือเสียหลัก เกือบทั้งหมดของการบาดเจ็บเกิดบริเวณช่วงล่างของร่างกายหรือบริเวณขาครับ คงเป็นเพราะส่วนนี้เป็นส่วนรับน้ำหนักนั่นเอง

ผู้ที่อาจได้รับบาดเจ็บง่ายกว่าผู้อื่นคือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางกายอยู่ก่อนแล้ว เช่น เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน โครงกระดูกผิดปกติ กล้ามเนื้อไม่สมดุลหรือมีโรคประจำตัวอยู่ ส่วนผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ขาดการตระเตรียมร่างกาย ขาดการอบอุ่นร่างกาย ขาดการฝึกซ้อมหรือโหมเต้นหนักหลังจากที่หยุดไปนาน ก็มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ครับ หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นโค้ชหรือครูฝึกต้องสอนเต้นวันละหลายชั่วโมง ก็อาจบาดเจ็บได้เช่นกัน

นอกจากนี้อุปกรณ์และสภาพแวดล้อมในการเต้นก็มีส่วนสำคัญต่อการบาดเจ็บด้วยครับ เช่น รองเท้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะช่วยได้มากครับ เพราะจะกระชับ ไม่มีบีบรัด และช่วยลดแรงกระแทกได้มาก เรียกว่าดีกว่าใส่รองเท้าผ้าใบธรรมดาหรือเต้นเท้าเปล่าครับ พื้นห้องหรือพื้นสนาม ควรเป็นพื้นที่มั่นคงแข็งแรงหากยืดหยุ่นได้พอสมควรยิ่งดีใหญ่ ดีกว่าพื้นซีเมนต์ธรรมดาแน่ครับ

การตรวจวินิจฉัย

ไม่ยากครับ อาการช่วยบอกได้มากว่าบาดเจ็บแล้วล่ะ แต่อย่าลืมพิจารณาสภาพแวดล้อม ความเป็นมา รองเท้าและปัจจัยที่ทำให้มีอาการด้วย
การบาดเจ็บจากการใช้ร่างกาย (เต้น) มากจะค่อยๆ เกิดอาการครับ ผิดกับพวกที่เกิดจากอุบัติ เหตุที่เกิดทันทีทันใด ลองลูบคลำตรงส่วนที่เจ็บดู อาจบวม กดเจ็บ อาจมีรอยฟกช้ำดำเขียว อาจงอหรือเหยียดข้อนั้นไม่ได้เต็มที่อย่างเคย

ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บจากการเต้นแอโรบิคทั้ง 2 ประเภท แบ่งการบาดเจ็บออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับเบา ปานกลาง และระดับหนัก ซึ่งจะเป็นแนวทางประกอบการปฐมพยาบาล และการเยียวยารักษาให้สอดคล้องกัน

การปฐมพยาบาลและการรักษา

จะแยกออกเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุของการบาดเจ็บที่กล่าวถึงข้างต้นครับ เริ่มที่บาดเจ็บจากการใช้ร่างกาย (เต้น) มากก่อนเพราะพบบ่อยกว่าเพื่อน

..บาดเจ็บระดับเบา..
มักแค่รู้สึกแข้งขาตึงหน่อยๆ ในตอนเช้า พออุ่นเครื่องไปสักครู่ก็หาย อาจปวดบ้างในบางท่าที่ออกแรงหรือเกร็งมากๆ
การปฐมพยาบาล ก็ไม่ยากครับ อาจใช้ความร้อนประคบหน่อยก็จะหายเมื่อยตึง เต้นเสร็จแล้วอาจใช้ความเย็นประคบตามสักครู่ก็ดีเหมือนกัน

..บาดเจ็บระดับปานกลาง ..
อาการคือ ตอนเช้าจะตึงตามกล้ามเนื้อและข้อ เวลาเต้นจะปวดพอควร ปวดเวลาเคลื่อนไหวบริเวณที่เจ็บ กดเจ็บ
การปฐมพยาบาล ก็ทำเช่นเดียวกับบาดเจ็บระดับเบา ตอนเต้นควรลดเวลาการเต้นลงสักครึ่งหนึ่ง และลดความรุนแรงลงด้วย เลือกเต้นท่าเบาๆ ง่ายๆ หน่อย อาจรับประทานยาพาราเซตามอลสัก 1-2 เม็ด ก็บรรเทาได้แล้วครับ

..บาดเจ็บระดับหนัก ..
หมายถึงปวดแข้งขามากแม้เคลื่อนไหวธรรมดาก็ปวด มีอาการบวม กดเจ็บ อาจมีเสียงกริ๊บกรั๊บเวลาขยับเขยื้อน
การปฐมพยาบาล ต้องพักเต็มที่เลยครับ ประคบด้วยความเย็นวันละหลายๆ หน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและค้นหาสาเหตุด้วย

แนวทางการดูแลรักษา

การดูแลรักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือเสียหลักขณะเต้นแอโรบิค มีดังนี้

ระดับเบา อาการแค่ปวดหรือบวมเพียงเล็กน้อย กระดูกและข้อยังดูเรียบร้อยดีการปฐมพยาบาล ต้องพัก (คือหยุดเต้น) ประคบด้วยความเย็น เอาผ้ายืดพันไว้ให้กระชับ ลดการเคลื่อนไหว ยกขาขึ้นสูงเพื่อช่วยลดอาการบวม แพทย์จะช่วยยืนยันว่า การบาดเจ็บไม่กระทบถึงขั้นรุนแรง อาจสั่งยาแก้อักเสบให้รับประทาน

ระดับปานกลาง จะปวดขึ้นมาทันที ปวดปานกลาง มีอาการบวมพอควร อาจบวมทีหลังก็ได้ จะปวดมากขึ้นเวลาเคลื่อนไหว แต่ยังพอเดินไหว การปฐมพยาบาล เช่นเดียวกับที่กล่าวในระดับเบา แต่ทำบ่อยขึ้น วันละ 4-6 ครั้ง แพทย์มักสั่งยาแก้อักเสบให้รับประทานด้วย คงต้องหยุดเต้นสักระยะหนึ่ง

ระดับหนักหนักสมชื่อ คือ ปวดรุนแรง บวม ขยับเขยื้อนเป็นโอย เพราะเจ็บมากการปฐมพยาบาล อาจทำตามที่กล่าวในระดับเบา หรืออาจหามส่งโรงพยาบาลเลยครับ เพราะอาจต้องเอ็กซเรย์ หรือถึงขั้นผ่าตัด

ที่มา : http://www.blogger.com

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิค

เป็นการออกกำลังกายกลางแจ้งประกอบจังหวะเพลง เพื่อให้ผู้ออกกำลังกายได้เพลิดเพลินไปกับเสียงเพลง ไม่เกิดความจำเจและเบื่อหน่าย ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้งการบริหารร่างกายทุกส่วน ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ช่วยในการบริหารปอด ระบบการหายใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และการหมุนเวียนของโลหิต ตลอดจนการขับถ่ายของเสียทางต่อมเหงื่อ เป็นกิจกรรมกลุ่มที่กำลังเป็นที่นิยมของทุกเพศ ทุกวัย

ที่มา : http://mod.thaimilhealth.net

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเตรียมตัวเพื่อการเต้นแอโรบิค

1.สวมเสื้อผ้าให้กระชับ พอดีตัว เพื่อความคล่องตัว
2.อย่าสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดีพอ อับชื้นเป็นบ่อเกิดให้เป็นเชื้อราทางผิวหนัง หรือสิวตามตัวได้
3.สวมรองเท้าผ้าใบและถุงเท้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้า
4.เตรียมน้ำ 1 ขวด เอาไว้ดื่มแก้กระหายในเวลาพักแต่ละช่วงเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ อาจจะช็อกได้
5.เตรียมผ้าขนหนู 1 ผืนเอาไว้ซับเหงื่อ
6.งดรับประทานอาหารก่อนการเต้นแอโรบิค 1.30-2.00 ชั่วโมงเนื่องจากอาจทำให้จุก เสียด อาเจียน ขณะเต้นแอโรบิคได้
7.ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบความพร้อมของร่างกายและขอคำปรึกษาก่อนเริ่มเต้นฯในครั้งแรกๆ เนื่องจากการเต้นแอโรบิคอาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ถือว่าหนักเกินไปสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ หรือท่าบริหารบางท่าอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บได้เช่นท่ากระโดด เมื่อข้อเข่าของท่านไม่แข็งแรง
8.ก่อนออกกำลังกายควรล้างเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงผิวออกให้หมดทุกครั้งเพื่อเป็นการเปิดผิว เวลาออกกำลังกาย เหงื่อจะได้ระบายออกได้โดยสะดวก สิ่งสกปรกไม่อุดตันรูขุมขน ผิวพรรณจะสดใส

ที่มา : http://pirun.ku.ac.th

ประโยชน์ของการเต้นแอโรบิค

เชื่อว่าสาวๆ หลายคนคงเคย (คิด หรือลอง) กับการไปออกกำลังกายตอนเย็น ด้วยการ เต้นแอโรบิก ตามสวนสาธารณะ บางที่ (บางอาคารสำนักงาน) ก็จะจัดลานจอดรถ หรือดาดฟ้า ให้เป็นลานออกกำลังกาย ตอนเย็นๆ ซึ่งก็จะมีครู (หรือเปล่าหวา.. = ='') มาเต้นนำ ซึ่งบางทีเห็นหุ่นครู (คนเต้นนำ) แล้วก็อยากจะเต้น บางทีเห็นแล้วก็ไม่อยากจะเต้นตาม กลัวหุ่นเหมือนเขา 55555 แต่ว่านะการเต้นแอโรบิกนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วนแล้ว คุณรู้ไหมว่า มันยังช่วยอะไรกับเราอีก.. นอกจากผอมแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกด้วยนะจ๊ะก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการเต้นแอโรบิกเนี่ย มันคืออะไร.. มันก็คือการขยับร่างกาย ให้กล้ามเนื้อมีการทำงานต่อเนื่องทุกสัดส่วน เมื่อกล้ามเนื้อมีการทำงานตลอด มันก็จะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ไม่หย่อนคลอยตามแรงโน้มถ่วงของโลกก่อนวัยอันควร แต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติมมาก็คือ

1. ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น• เวลาเราออกกำลังกาย โดยเฉพาะแอโรบิกนั้น จะเป็นการออกกำลังกายแบบเกือบจะทุกสัดส่วน เพราะว่ามันต้อง เคลื่อนไหวตลอด เมื่อเคลื่อนไหว ร่างกายจะสูบฉีดเลือด ทำให้หัวใจทำงาน (บริหารหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงไปด้วย : แต่ไม่เกี่ยวกับบริหารรักนะจ๊ะ 555555) • ช่วยเพิ่มเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น • ลดอัตรการเต้นของหัวใจ เมื่ออยู่ในภาวะการออกกำลังกาย เมื่อกล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราจะออกกำลังกายได้ดี ไม่ค่อยเหนื่อย ลองนึกถึงแรกๆ เราไปเต้นแอโรบิกดูดิ.. เหนื่อยลิ้นห้อยเลย เต้นตามไม่ทันอีกต่างหาก พอเต้นไปสัก 1 อาทิตย์ ร่างกายเริ่มเข้าที่ เริ่มเหนื่อยช้าลง • เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ก็ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เพราะว่าหัวใจเราสูบฉีดแรงอยู่แล้ว เส้นเลือดต่างๆ ก็ไม่อุดตัน ความดันเลยปกติ

2. ระบบหายใจดีขึ้น• ปอดมีการรับออกซิเจนมากขึ้น หายใจได้ลึกขึ้น ปอดมีการขยายมากขึ้น • เมื่อปอดขยาย และรับออกซิเจนมากขึ้น ร่างกายก็รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของอากาศในปอดทำงานได้ดีขึ้น • เมื่อมีออกซิเจนมากขึ้น การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งเราออกกำลังกาย ในสถานที่มี ออกซิเจนมากๆ เช่น ตามสวนสาธารณะ ที่มีออกซิเจนบริสุทธิมากๆ ปอดก็จะได้รับออกซิเจนที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วย

3. ระบบเคมีในเลือกดีขึ้น• การออกกำลังกายเป็นการเผาผลาญไขมัน เมื่อไขมันในร่างกาย (ในเส้นเลือดคนเราก็มีนะค่ะ) ถูกใช้ไป เลือดของเราก็เดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ปริมาณไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล) ลดลง และไตรกลีเซอไรด์ ลดลงเช่นกัน ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แลโนคหลอดเลือดสมองอุดตัน • เพิ่ม HDL (คอเลสเตอรอล ตัวดี ที่ร่างกายต้องการมาก และจะเพิ่มได้ด้วยการออกกำลังกายเท่านั้น) ซึ่งเป็นตัวช่วยลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน • ลดน้ำตาลส่วนเกิน ป้องกันโรคเบาหวาน เพราะว่าเวลาเราออกกำลังกาย ร่างกายจะต้องใช้พลังงานมาก ร่างกายจะไปดึงเอาน้ำตาลมาแปลงเป็นพลังงาน ทำให้ระดับน้ำตาลส่วนเกินในเลือดต่ำลง ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานได้ค่ะ

4. ด้านระบบประสาทและจิตใจ• ลดความเครีดยได้ดีค่ะ เพราะว่าการออกกำลังกายนั้น คุณจะไม่ค่อยได้คิดเรื่องที่เครียด ใจจะจดจ่อกับการเต้น (แต่บางทีเต้นไม่ทัน ก็เครียดแหะ T__T ฮือๆๆๆ) • เวลาเหงื่อออกจนถึงระดับนึง ร่างกายจะหลั่งสาร Endorphin จากสมอง เป็นสารที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสบายค่ะ รู้สึกปลอดโปร่ง (ต้องลองเองค่ะ บรรยายมะถูกอะ)จะเห็นว่าการออกกำลังกายด้วย แอโรบิกเนี่ย มันดียังไงแล้วนะค่ะ (ที่สำคัญ ส่วนมากไปเต้นตามสวนสาธารณะ จะเต้นฟรีค่ะ) ก็อย่าลืมไปลองเต้นดูนะค่ะปล. ก่อนเต้นและหลังเต้นต้องวอร์มร่างกายก่อนนะค่ะ โดยอาจจะอุ่นเครื่องด้วยการเดินสัก 3-5 นาที แกว่งแขน สะบัดขาไปมา ด้วยนะค่ะ (ตอนสะบัดดูคนข้างหน้า กับข้างหลังด้วยเด้อ.. มะใช่ฟาดไป เปรี๋ยง...ง จะ
ที่มา :http://rnpteam-aerobic.blogspot.com